HS Code หรือพิกัดศุลกากร คืออะไร ?

มารู้จักความเป็นมากันก่อนนะ HS CODE (Harmonized System) หรือ พิกัดศุลกากร เป็นระบบการจำแนกประเภทและระบุชนิดสินค้าด้วยรหัสตัวเลข 6 หลัก สำหรับแจ้งภาษีอากร  ซึ่งประกาศใช้โดย องค์การศุลกากรโลก (World Customs Organization: WCO)  เกิดจากความร่วมมือกันของสมาชิกกว่า 176 ประเทศ และประเทศไทยได้เข้าร่วม เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 และระบบนี้ได้รับการยอมรับจากองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) จึงได้นำมาใช้เป็นสากลทางการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากแต่ละประเทศมีสินค้าที่หลากหลายเพราะแต่ละประเทศอาจมีวัตถุดิบไม่เหมือนกัน และมีชื่อเรียกแตกต่างกัน จึงต้องมีอะไรสักอย่างที่กำหนดให้เข้าใจตรงกันในระดับสากลเกี่ยวกับประเภทและชนิดสินค้านั้น จึงมีการรวมกลุ่มแลัวกำหนดเกณฑ์ให้เข้าใจตรงกัน จึงประกาศใช้ระบบ HS CODE นั่นเอง แล้ว HS Code มีความสำคัญอย่างไร ? จะค้นหาพิกัดสินค้าของเราได้อย่างไร ? เราสามารถค้นหาพิกัดสินค้าของเราได้จากหลายแหล่ง แต่ที่น่าเชื่อถือ ได้แก่ Read more…

คำศัพท์เฉพาะโลจิสติกส์

ในแต่ละอาชีพมักจะมีคำศัพย์ที่ใช้เรียกแบบเฉพาะเจาะจง รวมถึงวงการ Logistics ด้วยเช่นกัน ถ้าคนนอกวงการนี้ ได้ยินได้ฟังแล้ว ก็อาจจะต้องทำความเข้าใจและมีความสงสัยอยู่ไม่มากก็น้อยว่าคำศัพท์เหล่านั้นแปลว่าอะไร? หมายถึงอะไร ? และใช้ยังไง ? ไม่ใช่เรืองแปลกที่จะไม่เข้าใจ ก็มันเป็นคำศัพท์เฉพาะของวงการ Logistics เนอะ ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับคำศัพท์ที่มักจะพบและได้ยินบ่อยๆ สำหรับวงการนี้กันดีกว่านะ Freight Forwarder = ผู้ให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ Shipper/Exporter = ผู้ส่งออก Consignee/Importer= ผู้นำเข้า Carrier/vessel = สายเรือ Co-Loader = ตัวแทนโหลดหลักสำหรับขนส่งแบบLCL LCL = Less Than Container Load = การขนแบบไม่เต็มตู้ = เหมาะกัยผู้ส่งสินค้าที่มีจำนวนไม่มาก FCL= Full Container Load = การส่งสินค้าแบบเต็มตู้ Seafreight = Read more…

ค่าเงินบาทอ่อนค่าแข็งค่า ส่งผลกระทบต่อผู้นำเข้าส่งออกอย่างไร

เรื่องค่าเงินนั้น คงเคยคุ้นหูคุ้นตากันเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นในช่วงข่าวเศรษฐกิจ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ค่าเงินบาทอ่อนค่า หรือวันนี้ค่าเงิน บาทแข็งค่า เมื่อเราเข้าธนาคารที่มีหน้าจอแสดงค่าเงินให้เราเห็นว่าวันนี้ เวลานี้ค่าเงินบาทของเราเมื่อเทียบกับค่าเงินอื่นๆ อยู่ที่เท่าไหร่ หรือแม้แต่เว็บไซต์ หลายๆเว็บก็ มีพื้นที่ส่วนแสดงราคาน้ำมันและแสดงค่าเงินบาท  แต่เคยสงสัยไหมว่าค่าเงินบาทกับค่าเงินต่างประเทศทำไมไม่เท่ากัน  แล้วค่าเงินบาทที่อ่อนค่าหรือแข็งค่านี้ ส่งผลกระทบต่อผู้นำเข้าส่งออกอย่างไรบ้าง ค่าเงินบาท คืออะไร ? คือจำนวนเงินบาทเมื่อแลกกับการเงินต่างประเทศสกุลอื่นๆ เช่นเงินดอลล่าร์สหรัฐ เงินยูโร เงินเยนญี่ปุ่น  เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่ก็มักจะเทียบกับเงินดอลล่าร์สหรัฐ  โดยวันและเวลานั้นๆ  เงินบาทของเราต้องใช้จำนวนเท่าไหร่ เพื่อแลกกับ เงิน 1 ดอลล่าร์สหรัฐ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าหรือแข็งค่านี้ ส่งผลกระทบต่อผู้นำเข้าส่งออกอย่างไรบ้าง ค่าเงินที่มีการปรับตัวอยุ่ตลอดเวลานั้นย่อมส่งผลด้านบวกและด้านลบ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า ฝ่ายไหนเสียประโยชน์ และฝ่ายไหนได้ประโยชน์ 1.ค่าเงินบาทแข็งค่า คือ ค่าเงินสกุลหนึ่งมีค่า มากขึ้น เมื่อเทียบกับค่าเงินอีกสกุลหนึ่ง เช่น เมื่อวาน      35 THB    =    1 USD Read more…

คำศัพท์เฉพาะโลจิสติกส์ (ฉบับ 2 ใบเสนอราคา)

จากฉบับแรก ของ คำศัพท์เฉพาะโลจิสติกส์ ที่เราได้เผยแพร่ออกไป ซึ่งเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้นนะครับ ยังคงมีอีกหลายคำศัพท์ ที่เป็นศัพท์ เฉพาะ และเราจะมาต่อกันที่ ฉบับที่ 2 นี้ครับ ซึ่งจะเน้นไปทาง ตัวอักษรย่อต่างๆ ที่เราจะเห็นในใบเสนอราคาจาก Freight Forwarder หรือ Shipping จะเห็นได้ว่าตัวย่อเต็มไปหมดเลย แล้วมันคือค่าอะไรหนอ…? THC (Terminal handling charge ) = ค่าภาระภายในท่าเรือ CFS (Container freight station) = การขนส่งสินค้า คอนเทนเนอร์ ขนถ่าย กรณีเปิดตู้สินค้า FAC (Facilities) = ค่าสิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภค STS (Status) = ค่าเปลี่ยนสถานะ เป็น LCL PCS (Port Read more…