ค่าเงินบาทอ่อนค่าแข็งค่า ส่งผลกระทบต่อผู้นำเข้าส่งออกอย่างไร

เรื่องค่าเงินนั้น คงเคยคุ้นหูคุ้นตากันเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นในช่วงข่าวเศรษฐกิจ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ค่าเงินบาทอ่อนค่า หรือวันนี้ค่าเงิน บาทแข็งค่า เมื่อเราเข้าธนาคารที่มีหน้าจอแสดงค่าเงินให้เราเห็นว่าวันนี้ เวลานี้ค่าเงินบาทของเราเมื่อเทียบกับค่าเงินอื่นๆ อยู่ที่เท่าไหร่ หรือแม้แต่เว็บไซต์ หลายๆเว็บก็ มีพื้นที่ส่วนแสดงราคาน้ำมันและแสดงค่าเงินบาท  แต่เคยสงสัยไหมว่าค่าเงินบาทกับค่าเงินต่างประเทศทำไมไม่เท่ากัน  แล้วค่าเงินบาทที่อ่อนค่าหรือแข็งค่านี้ ส่งผลกระทบต่อผู้นำเข้าส่งออกอย่างไรบ้าง ค่าเงินบาท คืออะไร ? คือจำนวนเงินบาทเมื่อแลกกับการเงินต่างประเทศสกุลอื่นๆ เช่นเงินดอลล่าร์สหรัฐ เงินยูโร เงินเยนญี่ปุ่น  เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่ก็มักจะเทียบกับเงินดอลล่าร์สหรัฐ  โดยวันและเวลานั้นๆ  เงินบาทของเราต้องใช้จำนวนเท่าไหร่ เพื่อแลกกับ เงิน 1 ดอลล่าร์สหรัฐ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าหรือแข็งค่านี้ ส่งผลกระทบต่อผู้นำเข้าส่งออกอย่างไรบ้าง ค่าเงินที่มีการปรับตัวอยุ่ตลอดเวลานั้นย่อมส่งผลด้านบวกและด้านลบ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า ฝ่ายไหนเสียประโยชน์ และฝ่ายไหนได้ประโยชน์ 1.ค่าเงินบาทแข็งค่า คือ ค่าเงินสกุลหนึ่งมีค่า มากขึ้น เมื่อเทียบกับค่าเงินอีกสกุลหนึ่ง เช่น เมื่อวาน      35 THB    =    1 USD Read more…

คำศัพท์เฉพาะโลจิสติกส์ (ฉบับ 2 ใบเสนอราคา)

จากฉบับแรก ของ คำศัพท์เฉพาะโลจิสติกส์ ที่เราได้เผยแพร่ออกไป ซึ่งเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้นนะครับ ยังคงมีอีกหลายคำศัพท์ ที่เป็นศัพท์ เฉพาะ และเราจะมาต่อกันที่ ฉบับที่ 2 นี้ครับ ซึ่งจะเน้นไปทาง ตัวอักษรย่อต่างๆ ที่เราจะเห็นในใบเสนอราคาจาก Freight Forwarder หรือ Shipping จะเห็นได้ว่าตัวย่อเต็มไปหมดเลย แล้วมันคือค่าอะไรหนอ…? THC (Terminal handling charge ) = ค่าภาระภายในท่าเรือ CFS (Container freight station) = การขนส่งสินค้า คอนเทนเนอร์ ขนถ่าย กรณีเปิดตู้สินค้า FAC (Facilities) = ค่าสิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภค STS (Status) = ค่าเปลี่ยนสถานะ เป็น LCL PCS (Port Read more…

การคำนวณ CBM และน้ำหนักจากขนาดสินค้า (Dimension of Goods) สำหรับขนส่งทางเรือ (SEA) และ ทางอากาศ (AIR)

เชื่อว่าเป็นอีกเรืองที่ผู้นำเข้า-ส่งออกไม่ควรมองข้ามไปค่ะ นั่นก็คือการคำนวณคิวและน้ำหนักจากขนาดสินค้า (Dimension of Goods) สำหรับขนส่งสินค้าทางเรือ (Sea Freight) และ ทางอากาศ (Air Freight) ซึ่งเป็นเรื่องที่ได้ใช้กันเป็นประจำอย่างแน่นอน  แต่ว่า!! ก่อนที่จะไปทำความรู้จักกับวิธีคำนวณคิวและน้ำหนักจากขนาดสินค้าตามที่บอกไปแล้วนั้น เราต้องมาทราบกันก่อนว่า ค่าของหน่วยตัวแปรต่างๆที่จะนำไปใช้ในการคำนวณนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร (ขอที่สำคัญๆใช้กันในหมวดนี้ก่อนละกันเนอะจะได้ไม่เยอะไปเดี๋ยวจะสับสนกันซะก่อนค่ะ) หน่วยวัดที่ต้องทราบก่อนการคำนวณคิวและน้ำหนักจากขนาดของสินค้า 1 เมตร = 100 เซนติเมตร 1 ฟุต = 30.48 เซนติเมตร 1 เซนติเมตร = 10 มิลลิเมตร 1 นิ้ว = 2.54 เซนติเมตร 1 กิโล = 2.2 ปอนด์ 1 ตัน = 1 คิว 1 Read more…