การตรวจสอบเครื่องหมายการค้าก่อนนำเข้า-ส่งออก

บางท่านอาจยังไม่ทราบว่าจะตรวจสอบเครื่องหมายการค้าได้จากแหล่งข้อมูลใดเพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิดลิขสิทธ์ หากเป็นการนำเข้ามาในไทยแล้วติดเรื่องลิขสิทธิ์ ผู้นำเข้าจะเสียหายหลายเรื่องเลยนะครับ เช่น เสียเงินค่าสินค้าไปแล้ว ของก็ไม่ได้เพราะละเมิดลิขสิทธิ์ต้องถูกยึด โดนปรับ และมีคดีความติดตัวด้วยนะครับ ดังนั้นเรามาตรวจสอบเบื้องต้นกันก่อนที่จะเกิดความเสียหายดีไหมครับขั้นตอนต่อไปนี้เป็นขั้นตอนเบื้องต้นที่เราสามารถตรวจสอบ เครื่องหมายการค้าครับ ทำตาม 5 ขั้นตอนนี้ได้เลยนะครับ เข้าเว็บไซต์กรมศุลกากร https://customs.go.th/ เลือกเรื่องหน้ารู้และกฏหมาย เลือกศูนย์ประสานงานทรัพย์สินทางปัญญา เลือกระบบฐานข้อมูลเครื่องหมายการค้า พิมพ์คำค้นหาเครื่องหมายการค้าได้เลยครับ เมื่อค้นหาพบข้อมูลแสดงว่า มีการจดลิขสิทธิ์ ไว้และจะพบว่า ใครเป็นผู้จดไว้ครับแต่ถ้าคนไม่พบก็ควรค้นหาด้วยคำที่ละเอียดมากยิ่งขึ้นนะครับ ย้ำว่า วิธีการนี้เป็นวิธีเบื้องต้นในการตรวจสอบจากฐานข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้มีการจดทะเบียนไว้ครับหากต้องการความชัวร์ 100% ให้ติดต่อตรวจสอบกับกรมทรัพท์สินทางปัญญาครับ ถ้าต้องการปรึกษาปัญหาเรื่องนำเข้าหรือส่งออก สามารถปรึกษาเราได้โดยตรงเลยครับติดขัดปัญหาสามารถติดต่อเราได้ทันทีจันทร์-ศุกร์ 08.30-17.00 Tel: 02 712 1775

นำเข้าส่งออกติดเรื่องใบอนุญาต ต้องติดต่อหน่วยงานใด ?

เนื่องจากสินค้าบางประเภทเป็นสินค้าควบคุม ดังนั้นการนำเข้า/ส่งออก จึงต้องได้รับอนุญาตก่อนนำเข้าหรือส่งออก มีหน่วยงานอะไรบ้างที่รับผิดชอบออกใบอนุญาตสำหรับการนำเข้า/ส่งออก และแต่ละหน่วยงานควบคุมสินค้าอะไรบ้าง   1. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กลุ่มสินค้าที่ควบคุม : ผลิตภัณฑ์ยา, เครื่องมือแพทย์, เครื่องสำอาง, วัตถุออกฤทธิ์, วัตถุอันตราย, ยาเสพติดให้โทษ, สารระเหย เบอร์ติดต่อ : 02-590-7000, สายด่วน 1556 ลิงค์หน่วยงาน : คลิก 2. กรมโรงงานอุตสหกรรม กลุ่มสินค้าที่ควบคุม : วัตถุระเบิดได้, วัตถุไวไฟ, วัตถุมีพิษ วัตถุออกซิไดซ์และวัตถุเปอร์ออกไซด์, วัตถุทำให้เกิดโรค, วัตถุกัดกร่อน, วัตถุตาม พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ของกรมควบคุม (เฉพาะที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม) ดังนี้ วัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ได้แก่ วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือมีไว้ในครอบรองต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด วัตถุอันตรายชนิดที่ Read more…

HS Code หรือพิกัดศุลกากร คืออะไร ?

มารู้จักความเป็นมากันก่อนนะ HS CODE (Harmonized System) หรือ พิกัดศุลกากร เป็นระบบการจำแนกประเภทและระบุชนิดสินค้าด้วยรหัสตัวเลข 6 หลัก สำหรับแจ้งภาษีอากร  ซึ่งประกาศใช้โดย องค์การศุลกากรโลก (World Customs Organization: WCO)  เกิดจากความร่วมมือกันของสมาชิกกว่า 176 ประเทศ และประเทศไทยได้เข้าร่วม เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 และระบบนี้ได้รับการยอมรับจากองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) จึงได้นำมาใช้เป็นสากลทางการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากแต่ละประเทศมีสินค้าที่หลากหลายเพราะแต่ละประเทศอาจมีวัตถุดิบไม่เหมือนกัน และมีชื่อเรียกแตกต่างกัน จึงต้องมีอะไรสักอย่างที่กำหนดให้เข้าใจตรงกันในระดับสากลเกี่ยวกับประเภทและชนิดสินค้านั้น จึงมีการรวมกลุ่มแลัวกำหนดเกณฑ์ให้เข้าใจตรงกัน จึงประกาศใช้ระบบ HS CODE นั่นเอง แล้ว HS Code มีความสำคัญอย่างไร ? จะค้นหาพิกัดสินค้าของเราได้อย่างไร ? เราสามารถค้นหาพิกัดสินค้าของเราได้จากหลายแหล่ง แต่ที่น่าเชื่อถือ ได้แก่ Read more…

คำศัพท์เฉพาะโลจิสติกส์

ในแต่ละอาชีพมักจะมีคำศัพย์ที่ใช้เรียกแบบเฉพาะเจาะจง รวมถึงวงการ Logistics ด้วยเช่นกัน ถ้าคนนอกวงการนี้ ได้ยินได้ฟังแล้ว ก็อาจจะต้องทำความเข้าใจและมีความสงสัยอยู่ไม่มากก็น้อยว่าคำศัพท์เหล่านั้นแปลว่าอะไร? หมายถึงอะไร ? และใช้ยังไง ? ไม่ใช่เรืองแปลกที่จะไม่เข้าใจ ก็มันเป็นคำศัพท์เฉพาะของวงการ Logistics เนอะ ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับคำศัพท์ที่มักจะพบและได้ยินบ่อยๆ สำหรับวงการนี้กันดีกว่านะ Freight Forwarder = ผู้ให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ Shipper/Exporter = ผู้ส่งออก Consignee/Importer= ผู้นำเข้า Carrier/vessel = สายเรือ Co-Loader = ตัวแทนโหลดหลักสำหรับขนส่งแบบLCL LCL = Less Than Container Load = การขนแบบไม่เต็มตู้ = เหมาะกัยผู้ส่งสินค้าที่มีจำนวนไม่มาก FCL= Full Container Load = การส่งสินค้าแบบเต็มตู้ Seafreight = Read more…