ทำอย่างไรเมื่อไม่มั่นใจพิกัดศุลกากร(HS Code) ของสินค้านำเข้า

โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเทคโนโลยีต่างๆถูกพัฒนาอย่างรวดเร็วส่งผลให้เกิดสินค้าใหม่ๆเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แต่ปัญหาคือ พิกัดศุลกากรที่ไม่ได้มีการอัพเดทที่รวดเร็ว อาจทำให้ตามไม่ทัน เมื่อผู้นำเข้า นำเข้าสินค้าที่อาจมีความไม่ชัดเจนหรือนอกเหนือจากพิกัดศุลกากรเดิมที่มีอยู่ ก็จะเป็นเรื่องปวดหัวที่จะสำแดงพิกัด เพื่อที่จะเสียภาษีให้ถูกต้อง แล้วควรทำอย่างไรเมื่อไม่มั่นใจพิกัดศุลกากร(HS Code)ของสินค้านำเข้า ปัญหาหนึ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตหรือเกิดขึ้นแล้วกับผู้นำเข้าบางราย คือ เมื่อทำการตรวจปล่อยสินค้ากับเจ้าที่กรมศุล เจ้าหน้าที่แจ้งว่า พิกัดของเราสำแดงไม่ตรง เราเสียภาษีไม่ถูกต้อง และถ้าเราใช้สิทธิพิเศษทางภาษี (FTA) ในการนำเข้า ก็จะไม่สามารถใช้สิทธิพิเศษนั้นได้เลย เพราะเอกสารแสดงสิทธิพิเศษ หรือฟอร์ม FTA ต่างๆ ต้องระบุ HS Code ด้วย ถ้าสำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าไม่ตรง ฟอร์ม FTA ที่แนบไปในการตรวจปล่อยก็ถูกตีตกไปด้วยเช่นกันครับ ทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้เรามั่นใจได้ว่าพิกัดสินค้าของเราถูกต้องคือ ให้กรมศุลฯ วิเคราะห์สินค้าและตีความพิกัดสินค้าให้เราตามหลักการของกรมศุลฯเอง เนื่องจากกรมศุลกากรเปิดโอกาสให้ผู้นำเข้าทำการยื่นขอให้กรมศุลฯตีความพิกัดล่วงหน้าให้กับเราได้ โดยเรานำข้อมูลรายละเอียดสินค้าของเรายื่นผ่านระบบ Tariff e-service ของกรมศุลฯ เมื่อกรมศุลฯตีความพิกัดให้เราเสร็จแล้ว เราจะได้รับเป็นเอกสารเพื่อยืนยันพิกัดศุลกากรของสินค้านั้น ซึ่งออกให้โดยกรมศุลกากร มีอายุ 3 ปี เราจึงมั่นใจได้ว่าพิกัดศุลกากรของสินค้าถูกต้อง สามารถนำไประบุลงใน ฟอร์ม FTA Read more…

การตรวจสอบเครื่องหมายการค้าก่อนนำเข้า-ส่งออก

บางท่านอาจยังไม่ทราบว่าจะตรวจสอบเครื่องหมายการค้าได้จากแหล่งข้อมูลใดเพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิดลิขสิทธ์ หากเป็นการนำเข้ามาในไทยแล้วติดเรื่องลิขสิทธิ์ ผู้นำเข้าจะเสียหายหลายเรื่องเลยนะครับ เช่น เสียเงินค่าสินค้าไปแล้ว ของก็ไม่ได้เพราะละเมิดลิขสิทธิ์ต้องถูกยึด โดนปรับ และมีคดีความติดตัวด้วยนะครับ ดังนั้นเรามาตรวจสอบเบื้องต้นกันก่อนที่จะเกิดความเสียหายดีไหมครับขั้นตอนต่อไปนี้เป็นขั้นตอนเบื้องต้นที่เราสามารถตรวจสอบ เครื่องหมายการค้าครับ ทำตาม 5 ขั้นตอนนี้ได้เลยนะครับ เข้าเว็บไซต์กรมศุลกากร https://customs.go.th/ เลือกเรื่องหน้ารู้และกฏหมาย เลือกศูนย์ประสานงานทรัพย์สินทางปัญญา เลือกระบบฐานข้อมูลเครื่องหมายการค้า พิมพ์คำค้นหาเครื่องหมายการค้าได้เลยครับ เมื่อค้นหาพบข้อมูลแสดงว่า มีการจดลิขสิทธิ์ ไว้และจะพบว่า ใครเป็นผู้จดไว้ครับแต่ถ้าคนไม่พบก็ควรค้นหาด้วยคำที่ละเอียดมากยิ่งขึ้นนะครับ ย้ำว่า วิธีการนี้เป็นวิธีเบื้องต้นในการตรวจสอบจากฐานข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้มีการจดทะเบียนไว้ครับหากต้องการความชัวร์ 100% ให้ติดต่อตรวจสอบกับกรมทรัพท์สินทางปัญญาครับ ถ้าต้องการปรึกษาปัญหาเรื่องนำเข้าหรือส่งออก สามารถปรึกษาเราได้โดยตรงเลยครับติดขัดปัญหาสามารถติดต่อเราได้ทันทีจันทร์-ศุกร์ 08.30-17.00 Tel: 02 712 1775

นำเข้าในเทอม CIF และ CNF แบบ LCL มีข้อดีข้อเสียอย่างไร?

ทั้ง 2 เทอมนี้มีความเหมือนกันมากแตกต่างกันเล็กน้อยคือเรื่อง Insurance เท่านั้นครับ สิ่งที่เหมือนกันคือ ผู้ขายรับผิดชอบการขนส่งและค่าใช้จ่ายจนเรือเทียบท่าที่ท่าเรือฝั่งไทยครับสิ่งที่ต่างกันคือ ถ้าเป็นเทอม CIF ผู้ขายจะรับผิดชอบทำประกันขนส่งให้ด้วย แต่ CNF ผู้ขายไม่ต้องทำประกันขนส่งครับ ข้อดีของ เทอม CIF และ CNF สำหรับผู้นำเข้า คือ ผู้ซื้อรอดำเนินการนำเข้าโดยไม่ต้องยุ่งยากเรื่องการขนส่งจากต้นทาง ขั้นตอนการดำเนินการของผู้นำเข้าน้อย เพียงจัดการเรื่องการดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากร และจัดส่งต่อมายังสถานที่จัดเก็บของผู้นำเข้าเอง ในเทอม CIF ผู้นำเข้าจะไม่มีค่าใช้จ่ายในการทำประกันขนส่ง ข้อเสียของ เทอม CIF และ CNF สำหรับผู้นำเข้า มีโอกาสที่จะเกิดสิ่งเหล่านี้ได้ คือ เนื่องจากการจัดหาเรือเป็นหน้าที่ของผู้ขาย ทำให้ผู้ขายมีโอกาสที่จะเลือกเรือที่สะดวก แต่เรือเดินทางยาวนานเนื่องจากมีเส้นทางไปประเทศอื่นก่อนเดินทางมาท่าเรือไทย มีโอกาสที่ค่าใช้จ่าย Local charge ปลายทางจะสูง เนื่องจากทางต้นทางสามารถเลือกใช้บริการเรือที่ค่าใช้จ่ายต้นทางต่ำแต่มาเรียกเก็บค่าใช้จ่ายปลายทางสูง ซึ่งผู้นำเข้าจำเป็นจะต้องชำระเพื่อจะได้เอกสาร Delivery order มาตรวจปล่อยสินค้ากับศุลกากร หากเกิดปัญหาผิดพลาดในเอกสารการขนส่ง การแก้เอกสารจะต้องให้ทางต้นทางเป็นผู้แก้ไข บางครั้งการประสานงานอาจทำได้ยาก Read more…

นำเข้าส่งออกติดเรื่องใบอนุญาต ต้องติดต่อหน่วยงานใด ?

เนื่องจากสินค้าบางประเภทเป็นสินค้าควบคุม ดังนั้นการนำเข้า/ส่งออก จึงต้องได้รับอนุญาตก่อนนำเข้าหรือส่งออก มีหน่วยงานอะไรบ้างที่รับผิดชอบออกใบอนุญาตสำหรับการนำเข้า/ส่งออก และแต่ละหน่วยงานควบคุมสินค้าอะไรบ้าง   1. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กลุ่มสินค้าที่ควบคุม : ผลิตภัณฑ์ยา, เครื่องมือแพทย์, เครื่องสำอาง, วัตถุออกฤทธิ์, วัตถุอันตราย, ยาเสพติดให้โทษ, สารระเหย เบอร์ติดต่อ : 02-590-7000, สายด่วน 1556 ลิงค์หน่วยงาน : คลิก 2. กรมโรงงานอุตสหกรรม กลุ่มสินค้าที่ควบคุม : วัตถุระเบิดได้, วัตถุไวไฟ, วัตถุมีพิษ วัตถุออกซิไดซ์และวัตถุเปอร์ออกไซด์, วัตถุทำให้เกิดโรค, วัตถุกัดกร่อน, วัตถุตาม พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ของกรมควบคุม (เฉพาะที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม) ดังนี้ วัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ได้แก่ วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือมีไว้ในครอบรองต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด วัตถุอันตรายชนิดที่ Read more…